ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย เงินเดือน เท่าไหร่

ในโลกยุคปัจจุบันต้องยอมรับว่าการที่คนเราจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ เรื่องของเงินเป็นเรื่องที่มีปัจจัยสำคัญในการนำพาชีวิตเราไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดีที่สุด ปฏิเสธไมได้จริงๆ ว่าในเวลานี้หากใครขาดแคลนเรื่องเงินทองหรือมีเงินทองไม่พอใช้ก็เป็นเรื่องยากที่จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข วิธีการที่จะทำให้มีเงินใช้ได้ดีที่สุดนั่นก็คือการทำงาน ซึ่งงานแต่ละอาชีพแต่ละประเภทก็จะมีค่าตอบแทนที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ด้าน อาชีพที่ปรึกษาด้านกฎหมายเองก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ผู้มีความสามารถหรือมีความชื่นชอบทางกฎหมายให้ความสนใจในการประกอบอาชีพนี้อยู่ไม่น้อย แต่สำหรับคนที่ยังไม่ได้เคยทำแต่มีความสามารถและอยากจะลองทำดูทว่าก็ยังไม่แน่ใจในเรื่องของรายได้ก็อาจยังต้องรอความมั่นใจว่าทำแล้วรายได้จะดีจริงๆ เงินเดือนและรายได้ของที่ปรึกษาด้านกฎหมาย หากว่ากันตามความเป็นจริงอาชีพที่ปรึกษาด้านกฎหมายก็เปรียบเสมือนอาชีพทั่วไปอาชีพหนึ่งที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป ผู้ที่ทำอาชีพนี้ในหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนเองส่วนมากก็จะได้รับเงินเดือนตามวุฒิการศึกษาบวกกับประสบการณ์ในการทำงานของตนเองที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการจะจ่ายเงินเดือนให้กับแต่ละตำแหน่งก็ต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจขององค์กรที่จ้างงานดังกล่าวด้วย เหตุเพราะผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ส่วนมากแล้วมักจะต้องมีประสบการณ์ในส่วนของทนายความ หรืองานที่มีความเกี่ยวข้องกับตุลาการมาก่อนจึงจะสามารถเข้ามาทำตำแหน่งที่ปรึกษาด้านกฎหมายได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจึงไม่สามารถจะบอกค่าตอบแทนเป็นรายได้หรือเงินเดือนได้อย่างตายตัว แต่หากจะลองตีเป็นค่าเฉลี่ยคร่าวๆ เงินเดือนของที่ปรึกษาด้านกฎหมายก็น่าจะอยู่ราว 50,000 – 100,000 บาท ต่อเดือน อย่างไรก็ตามที่ปรึกษาด้านกฎหมายอาจเลือกรับงานเฉพาะที่มีผู้ว่าจ้างให้ทำงานเฉพาะตามเรื่องที่ตนเองถนัด ซึ่งในส่วนของค่าตอบแทนก็อาจจะเป็นกรณีไปแล้วแต่เรื่องของงานในส่วนนั้นๆ อาทิ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายคนนี้มีความถนัดเฉพาะทาง อาทิ เรื่องการทำสัญญา ด้านที่ดินอสังหาริมทรัพย์ ก็อาจถูกจ้างเฉพาะงานที่เป็นเฉพาะทางของตนเอง ส่วนช่วงเวลาในการปฏิบัติงานก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประเด็น อาทิ หากเป็นพนักงานประจำของทั้งองค์กรรัฐและเอกชนก็อาจต้องทำงานเต็มเวลาเหมือนพนักงานปกติ แต่ถ้าหากไม่ได้เป็นพนักงานประจำก็อาจมีเวลาทำงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าอาชีพที่ปรึกษากฎหมายเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ไม่ใช่ว่าจะสามารถทำได้ง่ายๆ ทุกอย่างต้องล้วนแล้วแต่อาศัยสมอง ความคิด การวิเคราะห์ ประสบการณ์ ที่ผ่านมาของตนเองประกอบรวมกันด้วย

Continue reading

ข้อบังคับกฎหมายด้านการเงินที่ควรรู้

  ในขณะทั่วโลกมีความผันผวนด้านการเงินเสมอ ภาวะเศรษฐกิจการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ล้วนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันต่อคนในประเทศและคนทั้งโลก การเงินจึงมีความสำคัญต่อทุกคน แต่เราอาจไม่ระวังการใช้เงินอย่างถูกต้องมีความรู้ไม่ทั่วถึงทำให้พลาดพลั้งต่อกฎหมายทางการเงินได้โดยที่ไม่รู้ตัว ข้อบังคับด้านกฎหมายการเงินควรรู้ การใช้เงินในชีวิตประจำวันนั้นย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายทางด้านการเงิน ไมว่าจะเป็นการจับจ่ายใช้สอย การทำธุรกรรมทางการเงิน จึงต้องระมัดระวังการใช้ให้ถูกกฎหมาย บริษัทวิจัยการเงินของสหรัฐอเมริกา Bank rate ได้วิเคราะห์รวบรวมข้อมูลทางสถิติที่เกิดขึ้นบ่อยเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินที่ชาวอเมริกามักทำผิดกฎหมายอยู่บ่อย ซึ่งข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อหลายคนเพื่อนำไปปรับใช้เป็นแนวทางอยู่ถูกต้อง การปลอมแปลงเอกสารทางการเงิน – ในกรณีลงลายมือชื่อผู้อื่นแม้ว่าเจ้าของบัญชีจะยินยอมก็ตามล้วนเป็นการปลอมเอกสารที่มีความผิดตามกฎหมาย แม้จะทำด้วยความเจตนา หรือ ไม่ก็ตาม เพราะเป็นเรื่องกฎหมายที่ระบุไว้อย่างชัดเจนเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายอาญาที่กำหนด เนื่องจากเอกสารทางการเงินมีความสำคัญที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สิน หรือ การเงินของเจ้าของบัญชี การนำเอกสารธุรกรรมทางการเงินไปใช้อย่างผิดวัตถุประสงค์ – ถือเป็นความผิดทางอาญาข้อหาหลอกลวง เช่น การเปิดบัญชีธนาคาร การทำธุรกรรมเบิกเงินเกินบัญชี พิมพ์ธนบัตรปลอม หรือ แบงก์ปลอม – ส่งผลต่อเสถียรภาพทางการเงิน เป็นคดีอาชญากรรมร้ายแรง มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ การทำลายธนบัตร – ธนบัตรถือเป็นทรัพย์สินของประเทศ หากบุคคลใดนำธนบัตรของบุคคลอื่นมาเผา หรือ ฉีกทำลายจะมีความผิดตามกฎหมายอาญา การนำธนบัตรที่ระลึกไปถ่ายสำเนา – ตัวอย่าง การนำธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ

Continue reading

ความหมายของกฎหมายปกครอง

Governing-lawpic

กฎหมายปกครอง คือ กฎหมายที่ให้อำนาจทางการปกครองกับหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจทางปกครอง กฎหมายปกครองจะมีลักษณะพิเศษคือ ผู้ที่ใช้อำนาจหรืออกคำสั่งการปกครองได้จะต้องเป็นหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่จะมีข้อยกเว้นในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจทางปกครองนั่นไม่ใช่บุคคลที่กล่าวมา ซึ่งในเบื้องต้นบุคคลที่จะใช้การปกครองได้ต้องเป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจทางปกครองได้เป็นกรณีไป เช่น บุคคลที่ได้รับสัญญาทางปกครองกับรัฐ และเมื่อเกิดกรณีข้อพิพาทขึ้นจะต้องนำคดีเข้าสู่ศาลปกครอง โดยคู่พิพาทจะต้องเป็นคู่กรณีดังต่อไปนี้ หน่วยงานทางปกครอง หน่วยงานทางปกครองเจ้าหน้าที่กับหน่วยงานทางการปกครองกับเอกชน เจ้าหน้าที่กับเจ้าหน้าที่  และผู้ที่ต้องการจะฟ้องต่อศาลปกครองได้ต้องเป็นผู้เสียหายตรงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองมาตรา 42 วรรคหนึ่ง กฎหมายที่กำหนดว่าถึงรายละเอียดในการปกครองลดหลั่นกันลงมาจากกฎหมารัฐธรรมนูญ กล่าวคือกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองประเทศ แต่กฎหมายปกครองนั้นเป็นกฎหมายดำเนินการปกครอง ซึ่งกฎหมายปกครองนี้จะกล่าวถึงการจัดระเบียบแห่งองค์การทางปกครอง เช่น การจัดแบ่งออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น ส่วนในระบบการปกครองของประเทศสามารถแบ่งองค์กรที่ใช้อำนาจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายปกครองเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในฝ่ายบริหาร ซึ่งแบ่งงานของฝ่ายบริหารแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ งานทางการเมือง อันมีพระมหากษัตริย์ใช้อำนาจผ่านทางคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นรัฐบาล ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการใช้ข้อบังคับกฎหมายต่างๆ งานทางการปกครอง เรียกว่า ราชการประจำ มีหน้าที่เป็นผู้ปฎิบัติตามนโยบายที่ฝ่ายบริหารในส่วนที่เป็นงานการเมืองกำหนดขึ้น ได้แก่ ราชการส่วนกลาง คือ

Continue reading

ความหมายของกฎหมายเอกชน

กฎหมายเอกชน (Private Law) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วบยบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับนิติบุคคลด้วยกัน ดังนั้นกฎหมายเอกชนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับบุคคล อาทิเช่น กฎหมายเรื่องมรดก กฎหมายครอบครัว กฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญาเป็นต้น หรือจะเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้า การซื้อขายสินค้า ผลผลิตทางด้านต่างๆรวมทั้งบริการระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น การทำสัญญาในรูปแบบต่างๆ เมื่อมีเอกชน ก็ต้องมีมหาชน โดยส่วนความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและเอกชนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกล่าวคือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานรัฐกับประชาชน หรือนิติบุคคล ซึ่งในฐานะที่รัฐเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองก็จำเป็นจะต้องออกกฏหมายมาเพื่อกำหนดควบคุมความประพฤติของประชาชน รวมทั้งกำหนดขอบเขตของนิติบุคคลในประเทศเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กฎหมายมหาชนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ส่วนกฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกันในฐานะ “ผู้อยู่ใต้ปกครอง” ที่แต่ละฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน ส่วนกฎหมายเอกชนสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งหากมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพระหว่างกัน แล้วไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษก็จะมีเพียงแค่ชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีการประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท การประกัน ซึ่งส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ บทลงโทษจะต่างกับกฎหมายแพ่งที่มีโทษเพิ่มเติมขึ้น กฎหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง ในส่วนของประเทศไทยได้มีการรวมกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ไว้ให้อยู่ในฉบับบเดียวกัน ถูกเรียกว่า

Continue reading

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญคืออะไร

กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดในการใช้ปกครองประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดที่มาของอำนาจ ประกอบโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองการปกครองในการตรวจสอบ ถ่วงดุจอำนาจของกันและกัน โดยรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเภทของจารีตประเพณี โดยมีประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญนี้ สาเหตุเนื่องมาจากวิวัฒนาการทางด้านการปกครองประชาธิปไตยของอังกฤษอาศัยจากขนบธรรมเนียมประเพณี เอกสารอื่นๆที่มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากคำพิพากษาของศาล, พระราชบัญญัติสืบสัตนิวงศ์ เป็นต้น รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือรัฐธรรมนูญที่นำมาใช้กันในปัจจุบันในประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยซึ่งจะระบุการจำกัดอำนาจของรัฐรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และรวมถึงรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการที่มีบทบัญญัติกำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์ หรือสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ กฎหมายของรัฐธรรมนูญจะมีความสำคัญต่อรัฐ ระบบการเมืองการปกครอง ประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นกฎกติกาสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถกำหนดความเป็นเอกราชของประเทศ และได้รับการรับรองในการเมืองระหว่างประเทศรวมทั้งอำนาจอธิปไตยภายในของรัฐด้วย กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นระบบปกครองแบบใดก็ตาม ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขตของกฎระเบียบ จัดระเบียบสังคมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการถ่วงดุลอำนาจกัน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนในระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือกำกับในแนวปฎิบัติของรัฐ ผู้ปกครอง และประชาชนให้เป็นไปตามผู้นำ กฎหมายรัฐธรรมนูญช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล โดยประเทศที่นำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมาใช้ เช่น ฝรั่งเศส ไทย เยอรมัน เพื่อเป็นเครื่องมือสามารถใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพรวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งมากขึ้น

Continue reading

ความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร

ความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร กฎหมายระหว่างประเทศคือหลักกฎหมายหรือข้อตกลงที่มีร่วมกันเพื่อใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ โดยกฎหมายระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนคริสต์กาล และวิวัฒนาการมาเรื่อยๆด้วยการยึดหลักปฎิบัติต่อกันทั้งด้านจารีตประเพณี สนธิสัญญา จนมากลายเป็นแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมา กล่าวสรุปได้ว่า เป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้ประเทศต่างๆสามารถดำเนินการติดต่อสัมพันธ์กันให้เป็นไปตามกฎที่กำหนดหรืออยู่ในกรอบข้อตกลงยินยอมระหว่างกันไม่ว่าในยามปกติ หรือเกิดภาวะสงคราม ซึ่งจะมีความแตกต่างกับกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งหากจะว่าไปจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ คือความยินยอมที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของเหล่าบรรดาประเทศต่างๆ โดยมาจาก 2 ทางคือ จารีตประเพณี คือ การที่รัฐยินยอมให้ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ในระยะเวลายาวนานพอสมควร จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความผูกพันโดยไม่จำเป็นต้องมีลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อกำหนด สนธิสัญญา การที่ทำข้อตกลงระหว่างกันของรัฐอย่างชัดเจนและเปิดเผย รวมทั้งมีการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้มีการบังคับปฎิบัติเฉพาะคู่สัญญา กฎหมายระหว่างประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาขา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คือ กฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคล แผนกนี้จึงจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางการฑูต การทำสนธิสัญญา และการทำสงคราม กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่นำมาบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ถือว่าเป็นพลเมืองของรัฐในทางแพ่ง เช่น เรื่องการสมรส การหย่า การได้สัญชาติ หรือการสูญเสียสัญชาติเป็นต้น กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่นำมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในคดีอาญา เมื่อพลเมืองของรัฐมีการกระทำผิดกฎหมายอาญา เช่น การกำหนดอำนาจที่จะใช้บังคับและปฎิบัติต่อชาวต่างประเทศ ความแตกต่างของกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายในประเทศ พอสังเขปดังนี้ ความสัมพันธ์ที่มีข้อบังคับ กฎหมายระหว่างประเทศสามารถใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในขณะเดียวกันที่กฎหมายในประเทศจะบังคับความเกี่ยวข้องกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

Continue reading

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนคืออะไร

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนคืออะไร กฎหมายมหาชน (Public Law) คือกฎหมายว่าด้วยการกำหนดสถานะ และนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือจะเป็นหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งในสถานะที่รัฐมีอำนาจเหนือเอกชน โดยกรณีของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีนิติสัมพันธ์ในระดับเดียวกับเอกชน นิติสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะตกอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชนในทันที โดยทั่วไปสามารถแบ่งกฎหมายมหาชนได้เป็น 5 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยกำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญ เพื่อบัญญัติเกี่ยวกังองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งมีอำนาจในการปฎิบัติต่างๆตามข้อกฎหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในข้อที่เกี่ยวพันกับรัฐ กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติเพื่อครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของภาครัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย เพื่อความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอ่ญาทางศาล พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดไว้ว่าการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีปะเภทใด โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าอะไรคือกฎหมายมหาชนจากแนวคิดทฤษฎี ดังต่อไปนี้ พิจารณาจากคู่กรณีหรือความสัมพันธ์ ซึ่งต้องมีคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ หรือผู้ที่ใช้อำนาจรัฐอันถือว่าเป็นอำนาจมหาชนเสมอ พิจารณาจากบทลงโทษ การบังคับโทษทางกฎหมาย คือ มีลักษณะที่ว่าด้วยการบังคับโทษจำเป็นต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาดำเนินการ อาทิเช่น กฎหมายอาญาที่มีโทษปรับและจำคุกเป็นต้น ก็จัดได้ว่าเป็นกฎหมายมหาชน พิจารณาจากลำดับศักดิ์ของกฎหมาย คือหากเป็นหน่วยงานของรัฐออกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง

Continue reading