กฎหมายที่แรงงานใหม่ควรรู้เพื่อเตรียมตัวก่อนเริ่มทำงาน

labornew

labor

ก่อนจะเริ่มต้นชีวิตการทำงาน นอกจากทักษะที่เราต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการทำงานแต่ละสายอาชีพแล้ว ต้องเข้าใจกฎเกณฑ์ข้อบังคับของหน่วยงานแต่ละแห่งแล้ว ก็ควรที่จะเรียนรู้กฎหมายแรงงานขั้นพื้นฐานเอาไว้ด้วย อย่างน้อยก็เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกเอารัดเอาเปรียบจากที่ทำงาน แล้วก็ทำให้ได้รู้ถึงสิทธิของตัวเองในการได้รับความดูแลด้านต่างๆ ตลอดระยะเวลาในการทำงานด้วย

ตั้งแต่เริ่มมีการประกาศใช้กฎหมายแรงงานมา ก็พบว่ามีการปรับเปลี่ยนข้อกำหนดอยู่หลายครั้ง ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะสภาพสังคม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าครองชีพที่สูงขึ้น รูปแบบการทำงานที่ซับซ้อนขึ้น และอีกส่วนหนึ่งก็เพื่อเพิ่มความยุติธรรมให้กับระบบการจ้างแรงงาน โดยกฎหมายฉบับปัจจุบันมีจุดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

เมื่อผู้ว่าจ้างต้องการเลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญา

หากไม่ได้มีเหตุการกระทำความผิดอื่นๆ ของผู้ถูกจ้าง และไม่มีการยื่นลาออกก่อนหน้านั้น ผู้ว่าจ้างจะต้องมีการจ่ายชดเชยให้ตามระยะเวลาการทำงานที่ผ่านมา ยิ่งทำงานมานานเท่าไรก็ต้องจ่ายชดเชยให้มากขึ้นตามไปด้วย แล้วล่าสุดก็มีการเพิ่มอัตราการจ่ายของผู้ที่ทำงานกับผู้ว่าจ้างมานานกว่า 20 ปีด้วย ลองไปดูว่ารายละเอียดของค่าชดเชยเป็นอย่างไรบ้าง

– ทำงานเกิน 3 เดือนแต่ไม่ครบปี จ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติ 30 วัน

– ทำงาน 1-3 ปี จ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติ 90 วัน

– ทำงาน 3-6 ปี จ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติ 180 วัน

– ทำงาน 6-8 ปี จ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติ 240 วัน

– ทำงาน 10-20 ปี จ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติ 300 วัน

– ทำงานนานกว่า 20 ปีขึ้นไป จ่ายไม่ต่ำกว่าค่าจ้างในวันทำงานปกติ 400 วัน

ซึ่งค่าชดเชยเหล่านี้จะต้องจ่ายให้กับผู้ถูกจ้างพร้อมกับค่าล่วงเวลา และค่าพิเศษอื่นๆ ทั้งหมด ภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 วันทำการ

เมื่อเกิดกรณีเปลี่ยนผู้ว่าจ้าง

ไม่ว่าการเปลี่ยนผู้ว่าจ้างจะเป็นไปด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ถูกจ้างก่อนเสมอ เพราะมันเชื่อมโยงไปถึงสวัสดิการผลตอบแทนต่างๆ ที่จะได้รับ ต้องมีการแสดงความชัดเจนเพื่อให้ผู้ถูกจ้างได้ทำการตัดสินใจอีกครั้ง ผู้ว่าจ้างใหม่จะต้องให้ผลตอบแทนอย่างน้อยเท่ากับของเดิมที่ผู้ถูกจ้างเคยได้รับมาก่อนหน้านี้ด้วย

 รายละเอียดของวันลาที่ถูกต้อง

เรื่องของวันลาก็มีกำหนดเอาไว้ในกฎหมายแรงงานด้วยเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าผู้ว่าจ้างจะกำหนดอย่างไรก็ได้ตามใจตัวเอง โดยรายละเอียดจะต้องเป็นไปตามนี้เป็นอย่างน้อย

– วันลากิจ ในปีหนึ่งจะต้องมีสิทธิลากิจเพื่อไปทำธุระสำคัญได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และต้องไม่มีการหักค่าแรงแต่อย่างใด

– วันลาคลอด ผู้ถูกจ้างเพศหญิงต้องมีสิทธิในการลาเพื่อคลอดบุตรได้มากสุด 98 วัน และผู้ถูกจ้างก็จะยังคงได้รับเงินค่าจ้างอยู่ แต่แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ค่าแรงที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง 45 วันทำงาน และเงินจากประกันสังคมอีก 45 วัน

– วันลาป่วย ไม่ได้มีกำหนดจำนวนที่แน่นอน ให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้ว่าจ้าง โดยจะมีหลักฐานแสดงหรือไม่ก็ได้ แล้วแต่ผู้ว่าจ้างจะกำหนด

เมื่อผู้ว่าจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน

ไม่ว่าจะเป็นค่าแรงจากการทำงานปกติ ค่าล่วงเวลา ค่าแรงพิเศษในวันหยุด หรือค่าอะไรก็ตามที่ผู้ถูกจ้างพึงได้รับจากผู้ว่าจ้าง แต่ผู้ว่าจ้างทำคลุมเครือไม่ยอมจ่ายตามนัดหมาย จะด้วยเหตุผลส่วนตัวหรือเหตุผลของกิจการก็แล้วแต่ กิจการนั้นจะยังคงอยู่หรือจำเป็นต้องปิดตัวลงก็แล้วแต่ จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับผู้ถูกจ้างด้วยอย่างน้อย 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี นับจากระยะเวลาที่ผิดนัด ข้อน้ีสำคัญมากแต่หลายคนไม่รู้ จึงเป็นช่องโหว่ให้ผู้ว่าจ้างเอาเปรียบได้โดยง่าย