กฎหมายเอกชน (Private Law) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วบยบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับนิติบุคคลด้วยกัน ดังนั้นกฎหมายเอกชนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับบุคคล อาทิเช่น กฎหมายเรื่องมรดก กฎหมายครอบครัว กฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญาเป็นต้น หรือจะเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้า การซื้อขายสินค้า ผลผลิตทางด้านต่างๆรวมทั้งบริการระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น การทำสัญญาในรูปแบบต่างๆ เมื่อมีเอกชน ก็ต้องมีมหาชน โดยส่วนความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและเอกชนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกล่าวคือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานรัฐกับประชาชน หรือนิติบุคคล ซึ่งในฐานะที่รัฐเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองก็จำเป็นจะต้องออกกฏหมายมาเพื่อกำหนดควบคุมความประพฤติของประชาชน รวมทั้งกำหนดขอบเขตของนิติบุคคลในประเทศเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กฎหมายมหาชนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ส่วนกฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกันในฐานะ “ผู้อยู่ใต้ปกครอง” ที่แต่ละฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน ส่วนกฎหมายเอกชนสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งหากมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพระหว่างกัน แล้วไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษก็จะมีเพียงแค่ชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีการประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท การประกัน ซึ่งส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ บทลงโทษจะต่างกับกฎหมายแพ่งที่มีโทษเพิ่มเติมขึ้น กฎหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง ในส่วนของประเทศไทยได้มีการรวมกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ไว้ให้อยู่ในฉบับบเดียวกัน ถูกเรียกว่า
Continue readingAuthor: Francis Price
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญคืออะไร

กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดในการใช้ปกครองประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดที่มาของอำนาจ ประกอบโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองการปกครองในการตรวจสอบ ถ่วงดุจอำนาจของกันและกัน โดยรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเภทของจารีตประเพณี โดยมีประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญนี้ สาเหตุเนื่องมาจากวิวัฒนาการทางด้านการปกครองประชาธิปไตยของอังกฤษอาศัยจากขนบธรรมเนียมประเพณี เอกสารอื่นๆที่มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากคำพิพากษาของศาล, พระราชบัญญัติสืบสัตนิวงศ์ เป็นต้น รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือรัฐธรรมนูญที่นำมาใช้กันในปัจจุบันในประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยซึ่งจะระบุการจำกัดอำนาจของรัฐรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และรวมถึงรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการที่มีบทบัญญัติกำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์ หรือสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จ ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ กฎหมายของรัฐธรรมนูญจะมีความสำคัญต่อรัฐ ระบบการเมืองการปกครอง ประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นกฎกติกาสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถกำหนดความเป็นเอกราชของประเทศ และได้รับการรับรองในการเมืองระหว่างประเทศรวมทั้งอำนาจอธิปไตยภายในของรัฐด้วย กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นระบบปกครองแบบใดก็ตาม ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขตของกฎระเบียบ จัดระเบียบสังคมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการถ่วงดุลอำนาจกัน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนในระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือกำกับในแนวปฎิบัติของรัฐ ผู้ปกครอง และประชาชนให้เป็นไปตามผู้นำ กฎหมายรัฐธรรมนูญช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล โดยประเทศที่นำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมาใช้ เช่น ฝรั่งเศส ไทย เยอรมัน เพื่อเป็นเครื่องมือสามารถใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพรวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งมากขึ้น
Continue readingความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร

ความหมายของกฎหมายระหว่างประเทศคืออะไร กฎหมายระหว่างประเทศคือหลักกฎหมายหรือข้อตกลงที่มีร่วมกันเพื่อใช้บังคับกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างประเทศ โดยกฎหมายระหว่างประเทศเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยโบราณก่อนคริสต์กาล และวิวัฒนาการมาเรื่อยๆด้วยการยึดหลักปฎิบัติต่อกันทั้งด้านจารีตประเพณี สนธิสัญญา จนมากลายเป็นแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นมา กล่าวสรุปได้ว่า เป็นกฎหมายที่ถูกกำหนดขึ้นมา เพื่อให้ประเทศต่างๆสามารถดำเนินการติดต่อสัมพันธ์กันให้เป็นไปตามกฎที่กำหนดหรืออยู่ในกรอบข้อตกลงยินยอมระหว่างกันไม่ว่าในยามปกติ หรือเกิดภาวะสงคราม ซึ่งจะมีความแตกต่างกับกฎหมายภายในประเทศ ซึ่งหากจะว่าไปจุดเริ่มต้นของการวางรากฐานแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ คือความยินยอมที่เป็นข้อตกลงร่วมกันของเหล่าบรรดาประเทศต่างๆ โดยมาจาก 2 ทางคือ จารีตประเพณี คือ การที่รัฐยินยอมให้ปฎิบัติตามกฎเกณฑ์ในระยะเวลายาวนานพอสมควร จนกลายเป็นกฎเกณฑ์ที่มีความผูกพันโดยไม่จำเป็นต้องมีลายลักษณ์อักษรมาเป็นข้อกำหนด สนธิสัญญา การที่ทำข้อตกลงระหว่างกันของรัฐอย่างชัดเจนและเปิดเผย รวมทั้งมีการสร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อให้มีการบังคับปฎิบัติเฉพาะคู่สัญญา กฎหมายระหว่างประเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 สาขา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง คือ กฎหมายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคล แผนกนี้จึงจะเป็นเรื่องความสัมพันธ์ทางการฑูต การทำสนธิสัญญา และการทำสงคราม กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นกฎหมายที่นำมาบังคับเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ถือว่าเป็นพลเมืองของรัฐในทางแพ่ง เช่น เรื่องการสมรส การหย่า การได้สัญชาติ หรือการสูญเสียสัญชาติเป็นต้น กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่นำมากำหนดด้านความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในคดีอาญา เมื่อพลเมืองของรัฐมีการกระทำผิดกฎหมายอาญา เช่น การกำหนดอำนาจที่จะใช้บังคับและปฎิบัติต่อชาวต่างประเทศ ความแตกต่างของกฎหมายระหว่างประเทศกับกฎหมายในประเทศ พอสังเขปดังนี้ ความสัมพันธ์ที่มีข้อบังคับ กฎหมายระหว่างประเทศสามารถใช้บังคับความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในขณะเดียวกันที่กฎหมายในประเทศจะบังคับความเกี่ยวข้องกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
Continue readingความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนคืออะไร

ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายมหาชนคืออะไร กฎหมายมหาชน (Public Law) คือกฎหมายว่าด้วยการกำหนดสถานะ และนิติสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานของรัฐกับเอกชนหรือจะเป็นหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ซึ่งในสถานะที่รัฐมีอำนาจเหนือเอกชน โดยกรณีของรัฐหรือหน่วยงานของรัฐมีนิติสัมพันธ์ในระดับเดียวกับเอกชน นิติสัมพันธ์ดังกล่าวก็จะตกอยู่ภายใต้กฎหมายเอกชนในทันที โดยทั่วไปสามารถแบ่งกฎหมายมหาชนได้เป็น 5 ประเภท คือ รัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ โดยกำหนดรูปแบบและการปกครองของรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการกำหนดสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ กฎหมายปกครอง เป็นกฎหมายที่ขยายความให้ละเอียดจากรัฐธรรมนูญ เพื่อบัญญัติเกี่ยวกังองค์กรของรัฐ เจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งมีอำนาจในการปฎิบัติต่างๆตามข้อกฎหมาย กำหนดสิทธิของประชาชนในข้อที่เกี่ยวพันกับรัฐ กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติเพื่อครอบคลุมเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของภาครัฐ ชุมชน และประชาชนโดยส่วนรวม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของกฎหมายเพื่อที่จะให้ความปลอดภัย เพื่อความเป็นระเบียบของรัฐและรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดวิธีพิจารณาคดีอ่ญาทางศาล พระธรรมนูญศาลยุติธรรม กำหนดไว้ว่าการพิจารณาคดีนั้น ศาลใดจะมีอำนาจในการพิจารณาคดีปะเภทใด โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าอะไรคือกฎหมายมหาชนจากแนวคิดทฤษฎี ดังต่อไปนี้ พิจารณาจากคู่กรณีหรือความสัมพันธ์ ซึ่งต้องมีคู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นรัฐ หรือผู้ที่ใช้อำนาจรัฐอันถือว่าเป็นอำนาจมหาชนเสมอ พิจารณาจากบทลงโทษ การบังคับโทษทางกฎหมาย คือ มีลักษณะที่ว่าด้วยการบังคับโทษจำเป็นต้องใช้อำนาจรัฐเข้ามาดำเนินการ อาทิเช่น กฎหมายอาญาที่มีโทษปรับและจำคุกเป็นต้น ก็จัดได้ว่าเป็นกฎหมายมหาชน พิจารณาจากลำดับศักดิ์ของกฎหมาย คือหากเป็นหน่วยงานของรัฐออกกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นระดับพระราชบัญญัติ กฎกระทรวง
Continue reading