ว่าด้วยเรื่องของ กฎหมาย แล้ว เหล่าบรรดาเจ้าของกิจการทุกท่านทราบหรือไม่ว่า ก่อนที่จะจ้างแรงงานต่างด้าว ผู้ประกอบการควรต้องทราบข้อมูลใดบ้าง หากยังไม่แน่ใจ มาลองอ่านกฎหมายแรงงานต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 ซึ่งเป็นฉบับอัปเดตล่าสุดกัน ว่ามีการปรับเปลี่ยนในเรื่องใด และ มีเรื่องสำคัญที่นายจ้างควรรู้ไว้อย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่ดำเนินการผิดกฎหมาย
เรื่องการขอใบอนุญาตทำงาน
กฎหมายแรงงานของคนต่างด้าวฉบับใหม่ 2562 มีการกำหนดให้ลูกจ้างที่ไม่ใช่คนไทยต้องขอใบอนุญาตทำงานต้องเข้ามาตามระบบ MOU เท่านั้น ต้องยื่นเอกสารคำร้องขอไปยังตัวแทนประเทศต้นทาง เพื่อดำเนินการคัดเลือกแรงงาน และ ตัวแทนประเทศต้นทางจะจัดทำบัญชีรายชื่อส่งกลับมา
กรณีแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ไม่ต้องกลับไปประเทศต้นทาง ได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี โดยสามารถประทับตราขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีความต้องการต่ออายุของใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว จะต้องเดินทางกลับประเทศ หากอยู่ต่อจะถือว่าผิด กฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและ ลูกจ้าง ดังนี้
- นายจ้าง ปรับ 10,000-100,000 บาท / ลูกจ้าง 1 คน หากพบว่าทำผิดครั้งที่สอง ปรับ 50,000-200,000 / ลูกจ้าง 1 คน จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และ ห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี
- ลูกจ้าง ปรับ 5,000-50,000 บาท ถูกส่งตัวกลับประเทศ และ งดออกใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับโทษ
กฎหมายแรงงาน คุ้มครองลูกจ้างที่ไม่ใช่คนไทย
ข้อดีของ กฎหมาย แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่นี้ คือการเพิ่มกฎคุ้มครองลูกจ้างมากกว่าเดิม แทบจะเทียบเท่าแรงงานไทยได้เลย ประกอบด้วย
- ค่าแรง จะได้รับตามอัตราค่าแรงขั้นต่ำในแต่ละจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนตามเวลา ไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน ยกเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ไม่จ่ายชดเชยกรณีหยุดกิจการ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยในระหว่างที่ผิดนัด 15% ต่อปี
- หากในกรณีเปลี่ยนแปลงผู้ว่าจ้าง ต้องมีการยอมรับ และ ยินยอมจากทางลูกจ้างด้วย และนายจ้างใหม่ต้องให้สิทธิประโยชน์ตามนายจ้างเดิม
- หากนายจ้างยกเลิกสัญญาโดยไม่แจ้งล่วงหน้า จะต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับ ตั้งแต่วันที่ให้ออกจากงานจนถึงวันที่มีการยกเลิกสัญญา
- หากนายจ้างมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการ ไม่ว่าทั้งหมด หรือ บางส่วนชั่วคราว ต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงานก่อนหยุดกิจการ
- การลากิจ มีสิทธิ์ลาได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และ จะได้รับค่าจ้างตามปกติหากลาไม่เกินตามที่กำหนด
- การลาคลอด ได้ไม่เกิน 98 วัน รวมวันลาตรวจครรภ์ก่อนคลอดด้วย โดยนายจ้างจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน
- ไม่ว่าลูกจ้างเป็นเพศใดต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน รวมไปถึงค่าล่วงเวลาอื่นๆ ด้วย หากงานที่ทำมีลักษณะเดียวกัน
ทั้งนี้ ตัวนายจ้าง และลูกจ้างเอง ควรหมั่นติดตามอัปเดตข่าวสารอยู่ตลอด เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตาม กฎหมาย หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อสอบถามกระทรวงแรงงานได้ที่เบอร์ 1506