ความหมายของกฎหมายเอกชน

กฎหมายเอกชน (Private Law) เป็นกฎหมายที่ว่าด้วบยบทบัญญัติเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน หรือเอกชนกับนิติบุคคลด้วยกัน ดังนั้นกฎหมายเอกชนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกับบุคคล อาทิเช่น กฎหมายเรื่องมรดก กฎหมายครอบครัว กฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญาเป็นต้น หรือจะเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประชาชนกับประชาชนด้วยกันเอง เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้า การซื้อขายสินค้า ผลผลิตทางด้านต่างๆรวมทั้งบริการระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น การทำสัญญาในรูปแบบต่างๆ

เมื่อมีเอกชน ก็ต้องมีมหาชน โดยส่วนความแตกต่างระหว่างกฎหมายมหาชนและเอกชนเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันกล่าวคือ กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐหรือหน่วยงานรัฐกับประชาชน หรือนิติบุคคล ซึ่งในฐานะที่รัฐเป็นผู้มีหน้าที่ปกครองก็จำเป็นจะต้องออกกฏหมายมาเพื่อกำหนดควบคุมความประพฤติของประชาชน รวมทั้งกำหนดขอบเขตของนิติบุคคลในประเทศเพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข กฎหมายมหาชนสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทด้วยกัน ส่วนกฎหมายเอกชน คือกฎหมายที่กำหนดสถานะและนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนต่อกันในฐานะ “ผู้อยู่ใต้ปกครอง” ที่แต่ละฝ่ายมีความเท่าเทียมกัน

ส่วนกฎหมายเอกชนสามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภทคือ

  1. กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของบุคคล ซึ่งหากมีการละเมิดสิทธิเสรีภาพระหว่างกัน แล้วไม่กระทบกับคนส่วนใหญ่ ลักษณะการลงโทษก็จะมีเพียงแค่ชดใช้ค่าเสียหายเท่านั้น
  2. กฎหมายพาณิชย์ เป็นกฎหมายกำหนดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีการประกอบการค้าและธุรกิจ เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัท การประกัน ซึ่งส่งผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ บทลงโทษจะต่างกับกฎหมายแพ่งที่มีโทษเพิ่มเติมขึ้น
  3. กฎหมายพิจารณาความแพ่ง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อบังคับที่ใช้ในการดำเนินคดีเมื่อเกิดคดีความทางแพ่ง ในส่วนของประเทศไทยได้มีการรวมกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ไว้ให้อยู่ในฉบับบเดียวกัน ถูกเรียกว่า “ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

สิทธิตามกฎหมายเอกชน หมายถึง การเป็นเจ้าของที่มีอำนาจเหนือหรือสามารถในการจัดการสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อวัตถุแห่งความเป็นสิทธิ หรือเรื่องราวต่างๆที่มาความเกี่ยวข้องกับสิทธินั้น ได้แก่

  1. สิทธิทางทรัพย์สิน ก็คือสิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการต่อสู้กับบุคคลได้ทุกคน แบ่งออกได้ กรรมสิทธิ์ (ความเป็นเจ้าของซึ่งบุคคลที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน), สิทธิครอบครอง (สิทธิในทรัพย์สินที่ได้ครอบครอง) และทรัพย์สินอื่นๆ
  2. สิทธิที่ไม่ใช่ทรัพย์สิน เป็นสิทธิอื่นๆที่มีความนอกเหนือจากสิทธิทรัพย์สิน ซึ่งสิทธินี้จะนำไปต่อสู้หรืออ้างได้กับบุคคลที่เป็นเฉพาะรายบุคคลที่มีความผูกพันด้วยกันเพื่อให้เป็นไปตามสิทธิที่มีอยู่เท่านั้น เช่น สิทธิทางบุคคล (สิทธิที่นับความเป็นบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย) และสิทธิทางหนี้ (มีเจ้าหนี้ฝ่ายหนึ่งและมีลูกหนี้อีกฝ่ายหนึ่ง)