ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญคืออะไร

กฎหมายรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายสูงสุดในการใช้ปกครองประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะกำหนดที่มาของอำนาจ ประกอบโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองการปกครองในการตรวจสอบ ถ่วงดุจอำนาจของกันและกัน โดยรัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเภทของจารีตประเพณี โดยมีประเทศอังกฤษเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญนี้ สาเหตุเนื่องมาจากวิวัฒนาการทางด้านการปกครองประชาธิปไตยของอังกฤษอาศัยจากขนบธรรมเนียมประเพณี เอกสารอื่นๆที่มีที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากคำพิพากษาของศาล, พระราชบัญญัติสืบสัตนิวงศ์ เป็นต้น
  2. รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร คือรัฐธรรมนูญที่นำมาใช้กันในปัจจุบันในประเทศที่ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยซึ่งจะระบุการจำกัดอำนาจของรัฐรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และรวมถึงรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการที่มีบทบัญญัติกำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์ หรือสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จ

ความสำคัญของรัฐธรรมนูญ

กฎหมายของรัฐธรรมนูญจะมีความสำคัญต่อรัฐ ระบบการเมืองการปกครอง ประชาชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นกฎกติกาสูงสุดในการปกครองประเทศ ทำให้รัฐสามารถกำหนดความเป็นเอกราชของประเทศ และได้รับการรับรองในการเมืองระหว่างประเทศรวมทั้งอำนาจอธิปไตยภายในของรัฐด้วย
  2. กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนระบอบการปกครอง ไม่ว่าจะเป็นระบบปกครองแบบใดก็ตาม ซึ่งในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญจะจำกัดอำนาจของรัฐและผู้ปกครองให้อยู่ภายในขอบเขตของกฎระเบียบ จัดระเบียบสังคมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางการเมืองการปกครอง กำหนดบทบาทในการถ่วงดุลอำนาจกัน ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชน ส่วนในระบอบเผด็จการรัฐธรรมนูญก็เป็นเครื่องมือกำกับในแนวปฎิบัติของรัฐ ผู้ปกครอง และประชาชนให้เป็นไปตามผู้นำ
  3. กฎหมายรัฐธรรมนูญช่วยเสริมสร้างเสถียรภาพของรัฐบาล โดยประเทศที่นำรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมาใช้ เช่น ฝรั่งเศส ไทย เยอรมัน เพื่อเป็นเครื่องมือสามารถใช้ในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆเพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพรวมทั้งเพิ่มความเข้มแข็งมากขึ้น

ที่มาของรัฐธรรมนูญ

ในแต่ละประเทศจะมีที่มาของรัฐธรรมนูญแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถหาแหล่งที่มาได้จาก 5 แหล่ง คือ

  1. ผู้นำสูงสุดของรัฐเป็นผู้จัดทำขึ้น ด้วยความยินยอมพร้อมใจและความสงบราบรื่นในสังคมทั้งดำเนินการเองหรือมอบหมายให้ผู้อื่นทำ ซึ่งมักจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ยังคงสงวนอำนาจและสิทธิประโยชน์ของผู้ปกครองเป็นหลัก เช่น ญี่ปุ่น รัสเซีย
  2. คุณบุคคลที่เป็นผู้ปกครองหรือสามัญชนเป็นผู้จัดทำขึ้น โดยการใช้อำนาจบังคับหรือความรุนแรง เช่นการปฎิวัติ
  3. ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแท้จริงได้ตกลงยินยอมร่วมกันในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้มักเป็นรัฐธรรมนูญที่ประชาชนคาดหวังต้องการสร้างสังคมใหม่ที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ อย่างเต็มที่
  4. ผู้นำของประเทศร่วมกับคณะปฎิวัติกับประชาชนร่วมกันจัดทำ โดยผู้นำยอมโดนริดรอนอำนาจมาให้กับประชาชน โดยไม่สะเทือนต่อสถานะทางการปกครองของประมุขประเทศ เช่น อังกฤษ โรมาเนีย
  5. องค์กรหรืออิทธิพลภายนอกของรัฐเป็นผู้จัดทำขึ้น ด้วยการแทรกแซงหรือครอบงำ เช่น รัฐธรรมนูญของญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น

One comment

  1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมือง Ligaz มาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดในการใช้ปกครองประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมืองการปกครองเพื่อการตรวจสอบ ซึ่งมีความสำคัญต่อรัฐในการปกครองประชาชนภายในประเทศ เป็นกฎกติกาสูงสุดที่ควรต้องให้ความเคารพ

Comments are closed.